มีหลายคนที่มีความคิดที่อยากจะเลี้ยงปลาทะเลที่บ้าน แต่ยังกล้าๆกลัวๆอยู่ เพราะปลาทะเลเป็นปลาน้ำเค็ม อาจจะเลี้ยงยากกว่าปลาตู้ธรรมดา การเลี้ยงปลาทะเลในตู้นั้นก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ และต้องมีความเอาใจใส่อยู่เสมอๆ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างเพราะปลาน้ำจืด และปลาน้ำเค็มนั้นมีวิธีเลี้ยงในตู้ที่แตกต่างกัน ปลาตู้ทะเล จะเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิด และประเภทของปลา และปะการัง จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ
อุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาตู้ทะเล
ขั้นตอนที่ 1 เลือกมุมที่โปร่ง ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เป็นพื้นที่ที่แบนราบ เมื่อได้ที่ที่ต้องการแล้วก็ทำการจัดวางขาไม้ ตู้โชว์และกรองล่าง นำน้ำประปา ใส่ให้เต็มทั้งตู้หลักและตู้กรอง เพื่อเช็คร่องรอยการรั่วซึมของซีรีโคนที่ติดตู้ไว้
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อวางขาไม้แล้วชุดตู้เป็นที่เรียบรอยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ เดินระบบน้ำขึ้นและน้ำลง ส่วนใหญ่แล้วตู้หลักจะเจาะรูน้ำลงอยู่ที่ 1-1นิ้วครึ่ง และน้ำขึ้นอยู่ที่ 4-6 หุน เริ่มจากน้ำขึ้นกันก่อน
ขั้นตอนที่ 3 จัดการน้ำสกิมเมอร์วางไว้ที่ช่องใดช่องหนึ่งในตู้กรองล่าง แล้วแต่ความเหมาะสมและขนาดของสกิมเมอร์และช่องกรองล่าง
ขั้นตอนที่ 4 นำหินเป็นหรือหินตายที่เตรียมไว้ วางซ้อนทับกัน ระวังอย่าให้หินร่วงเดี๋ยวจะทำให้พื้นตู้แตกได้ หากต้องการความแข็งแรงการว่างซ้อนทับกันของหิน ให้ทำการทาอีพ็อกซี่
ขั้นตอนที่ 5 นำเกลือวิทยาศาสตร์ มาผสมในน้ำ น้ำที่ควรใช้กับระบบตู้ทะเลควรเป็นน้ำกรอง RO หรือ RO/DI หากใครหายากอยู่ต่างจัวหวัดแนะนำให้ใช้น้ำถังขุน (ถังละ 20 ลิตร)แทนได้ครับแต่จะไม่ดีเท่ากับน้ำกรอง ROห้ามใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาล และเปิดปั๊มอ๊อกซิเจน ใส่หัวทราย หรือใส่ปั๊มน้ำ เสียบปลั๊กให้ทำงาน ทิ้งไว้จนเกลือละลาย แล้วทำการวัดความเค็ม ความเค็มที่ใช้เลี้ยงปลาและปะการังได้ดีคือ ปลาล้วน 25-29 Ptt หากต้องการเลี้ยงปะการังด้วย ควรอยู่ที่ 30-35 Ptt ส่วนใครที่ใช้น้ำทะเลที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 6 นำเกลือที่ผสมกับน้ำ เทใส่ตู้หลักให้เต็มตู้ ส่วนกรองล่างให้ใส่น้ำให้ท่วมปั๊มน้ำขึ้น ก่อนนำน้ำลงในตู้หลักเราอาจจะมาจัดหินติดอีพ๊อกซี่ให้เรียบร้อยก่อนก็ได้ สามารถผสมเกลือในตู้ปลาได้เลยแล้วแต่สะดวก
ขั้นตอนที่ 7 นำหินเป็นหรือหินตาย ทำการจัดเรียงให้เป็นรูปทรง รู โพรง ถ้ำ ตามจินตนาการหรือตามที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 8 เดินระบบและเก็บสายปลั๊กอุปกรณ์ต่างๆให้เรียบร้อย ทำการเสียบปลั๊กเข้ากับปลั๊กพ่วงหรือแผงไฟที่เตรียมไว้ แล้วเปิดการใช้งานเพื่อดูถึง การรั่วซึมของท่อที่เราต่อไว้ และการรั่วซึงของกระแสไฟ
การนำน้ำนาเกลือมาใช้ จะต้องมีการคำนวนการเจือจางน้ำนาเกลือ ซึ่งปกติจะใช้สูตรในการคำนวน คือ
N1V1 = N2V2
เมื่อ N1 คือ ค่าความเค็มของน้ำนาเกลือ
V1 คือ ปริมาตรของน้ำนาเกลือที่จะต้องใช้
N2 คือ ค่าความเค็มของน้ำทะเลที่ต้องการเตรียม
V2 คือ ปริมาตรของน้ำทะเลที่ต้องการเตรียม